ธุรกิจร้านอาหารถือว่าเป็นธุรกิจฮอตฮิตที่ใครๆก็อยากทำ เพราะอาหารการกิน ถือเป็นปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตประจำวัน ยังไงซะคนเราก็ต้องทานอาหารวันละ 3 มื้อ ธุรกิจร้านอาหารในเมืองไทยเราจึงเป็นธุรกิจที่เฟื่องฟูมาก

Market shop.

ที่นี้เรามาดูว่าหากคิดจะเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเองสักร้านนึง เราต้องทำอะไรบ้าง

1.การจดทะเบียนพาณิชย์หรือทะเบียนนิติบุคคล ซึ้งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแล้ว จะมีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นนิติบุคคล

ลักษณะของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา

  • เป็นการไปจดทะเบียนเพื่อแจ้งให้รู้ว่าคุณได้เริ่มต้นประกอบกิจการอย่างถูกต้องและเปิดเผย มีหลักแหล่งและสถานที่ตั้งของกิจการชัดเจน มีชื่อปรากฎอยุ่ในระบบการค้าของประเทศอย่างถูกต้อง
  • เรื่องภาระตามกฎหมาย การทำนิติกรรมสัญญา การชำะภาษีเงินได้ ยังคงเป็นไปในนามของตัวคุณซึ้งเป็นเจ้าของกิจการ
  • การไปจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแบบนี้เราเรียกว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่คุ้ยเคยกันว่าทะเบียนการค้า
  • ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่เกินชั่วโมงกับค่าธรรมเนียมเพียง 50 บาท ถ้าอยู่ต่างจังหวัดก็ไปยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดของจังหวัดที่ตั้งกิจการ

ลักษณะของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

  • เมื่อจัดตั้งกิจการแล้วในทางกฎหมายถือว่าตัวธุรกิจนั้นๆ แยกออกโดยเด็ดขาดกับความเป็นบุคคลธรรมดาของเจ้าของกิจการ การจะทำการใดๆ เป็นไปในนามกิจการทั้งหมด เหมือนว่ากิจการนี้เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่เกิดขึ้นมาตามกฎหมาย
  • ประเภทของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่เป็นนิติบุคคล โดยส่วนใหญ่มี 2 ประเภทคือ บริษัทจำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • สถานที่ที่จะไปยื่นจดทะเบียนบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้าในเขตกทม. ก็ไปยื่นจดได้ที่สำนักงานบริการทะเบียนธุรกิจ หรือที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าถนนนนทบุรี อ.เมือง จ.นนทบุรี ส่วนในต่างจังหวัด ติดต่อที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ซึ้งมีอยู่ทุกจังหวัด ดูข้อมูลเพิ่มเติ่มที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th

 

กฎหมายควรรู้สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร

ถือเป็นเรื่องปวดหัวเล็กๆ แต่ก็ต้องรู้ไว้สักหน่อยถือข้อกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่จะเปิด

ภาษีอากรสำหรับธุรกิจ SME

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  กิจการร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นทะเบียนพาณิชย์ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด 94 ในครึ่งปีแรก และยื่นแบบ ภ.ง.ด 90 อีกครั้งในครึ่งปีหลัง
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล ธุรกิจที่จะทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด 51 ในครึ่งปีแรกเพื่อประมาณการรายได้ จากนั้นเมื่อสิ้นปีจะยื่นแบบ ภ.ง.ด 52 พร้อมส่งงบดุลและมีการตรวจสอบบัญชีด้วย
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าเป็นทะเบียนพาณิชที่มีรายได้ทั้งปีไม่ถึง 1,800,000 บาทต่อปี ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ แต่ถ้ามีรายได้เกิน หรือเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด) ทุกรายต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 01) เพื่อจะสามารถคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

กฎหมายแรงงาน

ถือเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ผู้ประกอบการ ต้องทำความเข้าใจ ซึ้งกฎหมายที่ควรให้ความสนใจคือ

กฎหมายเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน

มีประเด็นสำคัญที่คุณควรรู้คือ หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาจ้าง หน้าที่ของทั้งลูกจ้างและของนายจ้าง การเลิกสัญญาจ้าง

  • สัญญาจ้าง มีการกำหนดคู่สัญญาเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายเจ้าหนี้ ฝ่ายลูกหนี้ กำหนดถึงสิทธิหน้าที่ และการบอกเลิกสัญญา การจ้างลูกจ้างมาทำการงานให้แก่ตนในลักษณะเป็นงานประจำ มีการจ่ายค่าจ้างเป็นรายระยะเวลาที่ชัดเจน และนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชา ซึ้งถือเป็นการจ้างแรงงานที่ไม่จำเป็นต้องทำสัญญา เพียงแต่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงกันก็เกิดสัญญาแล้ว

กฎหมายประกันสังคม

เมื่อคุณจัดตั้งธุรกิจ (ไม่ว่าเป็นรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) คุณต้องไปขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้างและลูกจ้าง ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่จังหวัดที่กิจการตั้งอยู่ และมีหน้าที่ในการนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยเงินที่นำส่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ในส่วนของลูกจ้าง(ทุกคน) โดยหักนำส่งในอัตราที่สนง.ประกันสังคมกำหนดไว้ และในส่วนที่สอง คือส่วนที่นายจ้างต้องจ่ายสมทบเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนรวมของเงินสมทบในส่วนของลูกจ้าง (ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่เว็บกระทรวงแรงงาน www.mol.go.th และเว็บประกันสังคม www.sso.go.th )

 

restaurant-icon

เนื่องจากการเปิดร้านอาหาร หรือร้านขายอาหารเป็นกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค หรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยข้างเคียงได้ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือกำกับดูแลร้านอาหาร ทางกรุงเทพมหานครจึงได้ออกข้อบัญญิติ เรื่องสถานที่จำหน่ายและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ 2545 โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญิติการสาธารณสุข พ.ศ 2535

ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งร้านอาหาร ในอาคารหรือพื้นที่ใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจากสำนักงานเขต ดังนั้นร้านอาหารที่ตั้ง ณ พื้นที่ใดๆก็ตามในกรุงเทพ ต้องไปแจ้งเรื่องต่อฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต เพื่อขอรับหลักฐานสำคัญ ดังนี้
1.ร้านอาหารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ต้องยื่นคำขอเพื่อขอรับ “หนังสือรับรองการแจ้ง” มีค่าธรรมเนียม 1000 บาท
2.ร้านอาหารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องยื่นคำขอเพื่อขอรับ “ใบอนุญาต” มีค่าธรรมเนียม 3000 บาท

หลักฐานที่ต้องนำมาประกอบ
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ขอรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
2.สำเนาทะเบียนบ้านของที่ตั้งร้านอาหาร
3.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล
4.หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ประกอบการไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเอง)
5.กรณีการต่อใบอนุญาตต้องแนบวุฒิบัตร
6.แผนที่ร้านอาหาร พอสังเขป
ขั้นตอนการเปิดร้านอาหาร
1.ไปติดต่อที่สำนักงานเขตที่ตั้งของร้านอาหาร ยื่นคำร้องต่อฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
2.เตรียมเอกสารต่างๆและหลักฐานประกอบให้พร้อม
3.กรอกแบบฟอร์มที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักเขตจัดให้ ดังนี้
– ก ร้านใหม่ = คำขอรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรอง แจังจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรืสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.1)
-ข ร้านเก่า= คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.5)

กรณีบอกเลิกกิจการ
ต้องยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือก สถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.10)

กรณีโอนกิจการ
ต้องยื่นคำขอโอนการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.11)

กรณีแก้ไขใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
ต้องยื่นคำขอแก้ไขใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.12)

4.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และตรวจสุขลักษณะของร้านอาหารตามเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ สรุปผลการตรวจสอบและเสนอให้ผู้อำนวยการเขตพิจารณาออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง

กรณีหนังสือรับรองการแจ้ง เมื่อเจ้าหน้าที่เขตได้รับแจ้ง ให้ออกใบรับแจ้ง (สอ.2) แก่ผู้ประกอบการเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่จนท.เขตยังไม่ได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง

ถ้าเจ้าหน้าที่เขตตรวจสอบแล้วถุกต้องตามแบบที่กำหนด ให้ออกหนังสือรับรองการแจ้งภายใน 7 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

กรณีใบอนุญาต เมื่อจนท.เขตได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของหลักฐาน
ถ้าจนท.เขตตรวจสอบแล้วพบไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนด ให้แจ้งผู้ประกอบการทราบภายใน 15 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
เจ้าหน้าที่เขตต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำขอ ซึ้งมีรายละเอียดถุกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อกำหนดท้องถิ่น
5.เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมารับ พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากพ้นกำหนดแล้วไม่มารับใบอนุญาตหรือไม่ชำระค่าธรรมเนียม ให้ยกเลิกการอนุญาตนั้น

เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้รับหนังสือรับรองการแจ้งมารับพร้อมกับชำระธรรมเนียมภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากพ้นกำหนดแล้วไม่มารับหนังสือรับรองการแจ้งหรือไม่ชำระค่าธรรมเนียม ให้ยกเลิกการอนุญาตนั้น

การชำระค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องค่าธรรมเนียมสำหรับการดำเนินกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ 2547

6.ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ต้องยื่นคำขอต่อจนท.ที่ฝ่ายสิงแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักเขตนั้นๆ เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญพร้อมกับเอกสารแจ้งความ

7.ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ต้องแสดงโชร์ในร้านอย่างเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ตลอดเวลาที่เปิดดำเนินการ

คำเตือน
-หนังสือรับรองการแจ้ง ไม่ต้องยื่นคำขอต่ออายุรายปี แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมทุกปี ก่อนครบรอบปี
-ใบอนุญาต ต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม รายปีก่อนจะหมดอายุ
-กรณีที่ผู้มายื่นคำขอใบอนุญาตล่าช้า เลยวันสิ้นอายุ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะรับคำขอต่อไว้โดยถือว่าเป็นการค้างชำระค่าธรรมเนียม และจะเรียกเก็บค่าปรับเพิ่มร้อยละ 20

 

นอกจากนี้หากร้านท่านจำหน่ายสุราและบุหรี่ด้วย ก็ต้องไปทำเรื่องกับสำนักงานสรรพสามิต ในเขตพื้นที่ท้องถิ่นของท่านเพื่อ ทำเรื่องขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ประเภทที่3 และใบอนุญาตจำหน่ายยาสูบ อีกด้วย

หากร้านท่านมีการเปิดเพลงให้ลูกค้าฟัง (เปิดเพลงจากแผ่นหรือสื่อใดๆ) ก็ควรติดต่อบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง จ่ายเงินให้ค่าลิขสิทธิ์เพลงด้วย ซึ้งแต่ละค่ายเพลงจะจัดตั้งบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ที่แตกต่างกัน (ตรงนี้ต้องขอบอกว่าค่าลิขสิทธ์เพลง ไม่แพง แต่ถ้าไม่จ่ายแล้วถูกจับได้ทีหลัง อันนี้จะจ่ายแพงกว่าอีกเป็นสิบๆเท่า ฉะนั้นจ่ายก่อนดีกว่า หรือไม่ก็เลี่ยงโดยการไปเปิดเพลงจากคลื่น FM แทนซะเลย

และหากร้านอาหารท่านมีบริการห้องคาราโอเกะด้วย ก็ต้องติดต่อจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลงคาราโอเกะ (ไม่เหมือนเพลง Audio ที่เปิดในร้านทั่วๆไป) ซึ้งคิดค่าลิขสิทธิ์เพลงคาราโอเกะเป็นห้องๆ หรือเป็น Harddisk (กรณีเพลงอยู่ในคอมในแต่ละห้อง) ซึ้งจะได้รับสติกเกอร์มาติดที่เครื่องเพื่อแสดงว่าได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์แล้ว กรณีถูกตรวจสอบ

 

Credit: คู่มือธุรกิจ SMEs ตอนก่อร่างสร้างธุรกิจ by K SME

-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=

รับโปรโมท ประชาสัมพันธ์ร้านอาหาร ,ดูแลการตลาดออนไลน์สำหรับธุรกิจร้านอาหาร
ด้วย Digital Marketing สร้างช่องทางใหม่ๆ เรียกลูกค้าผ่านโลกออนไลน์
-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=

 

Tags: , , , ,