กูเกิลแมพ แผนที่ออนไลน์ที่ทุกคนคุ้นเคย และน่าจะเป็นระบบแผนที่ออนไลน์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของคนไทยด้วย เนื่องด้วยความนิยมใช้เว็บ Google ในการเสิร์ชหาข้อมูลต่างๆของทุกๆคน ฉะนั้นวันนี้ ผมขอนำเหตุผลทั้ง 9 ข้อ มาอธิบายว่าถ้าคุณมีร้านค้า บริษัท ธุรกิจ อะไรก็ตาม ทำไมคุณควรจะต้องมีหมุดปักธุรกิจของคุณอยู่ใน Google Maps ด้วย

9 เหตุผลที่ธุรกิจ ควรมีหมุดปักใน GoogleMaps

 

เริ่มต้นด้วย ข้อที่ 1  กันเลย การมีหมุดปักบน Google Maps จะทำให้ลูกค้าค้นหาธุรกิจคุณเจอได้ง่ายมากขึ้น เพราะเพียงพิมพ์ชื่อคีย์เวิร์ดของธุรกิจลงไปในช่องค้นหา ผลการค้นหาก็จะลอยเด่น ด้านขวามือ บอกรายละเอียดอย่างครบครัน ทั้งชื่อร้าน เบอร์โทร เวลาเปิด-ปิด ตำแหน่งที่ตั้ง ลิงค์เว็บไซต์ รวมไปถึงคะแนนเรตติ้ง หรือรีวิวที่ลูกค้าได้มาเขียนคอมเม้นต์เอาไว้

GoogleMapsช่วยให้ผลการค้นหาธุรกิจเห็นได้ง่ายขึ้น

2. การปักหมุดลงกูเกิลแมพ นั้นทำให้ธุรกิจของคุณดูน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หากคุณได้ทำการลงข้อมูลต่างๆไว้อย่างครบถ้วนทั้งเบอร์โทร เวลาเปิดปิด เว็บร้าน รูปภาพสินค้าหรือรูปหน้าร้าน

ยกตัวอย่างหากคุณกำลังจะซื้อวัตถุดิบหรืออะไหล่ จากผู้ค้าส่งหรือ Supplier ซักที่นึง แล้วคุณเอาชื่อบริษัทไปเสิร์จหาใน Google แล้วพบว่ามีหมุดปัก เป็นชื่อบริษัท + ข้อมูลครบครัน มีที่อยู่ที่ตั้งชัดเจน คุณคิดว่าร้านค้าร้านนี้ดูน่าเชื่อถือว่า ร้านที่ค้นหาในกูเกิลแล้วแทบไม่เจอข้อมูลอะไรเลยไหม หรือค้นแล้วไม่เจอที่ตั้งร้าน ไม่รู้ว่ามีตัวตนจริงๆรึเปล่า จะเชื่อถือได้มั้ยถ้าสั่งของไป โอนเงินไปแล้วไม่ส่งของมา จะไปตามได้ที่ไหน อะไรประมาณนี้

//อีกกรณีนึง eg. หมุดปักร้านอาหาร สมมุติมีเพื่อนมาบอกว่า แกๆร้านส้มตำร้านนี้อร่อย สูตรส้มตำฟิวชั่น ไม่เหมือนใคร มีกิมมิคในการขายของ ตกแต่งสวยมาก น่าไปลอง แล้วคุณหยิบมือถือขึ้นมาค้นหาแล้วก็พบหมุดปักร้านส้มตำที่เพื่อนคุณพูดถึงอยู่ พอดี ดูพิกัด ดูข้อมูลจากหมุดของร้านแล้วโอเค ไม่ไกลนัก คุณอาจกดให้นำทางไปกินที่ร้านตอนนั้นเลยก็ได้

 

หมุดปักบนGoogleMap ทำให้ธุรกิจดูน่าเชื่อถือมากขึ้นอีกเท่าตัว

3. การปักหมุดร้านหรือบริษัท นั้นทำให้ลูกค้าเดินทางมาที่ร้าน/บริษัท ของคุณได้ง่ายขึ้น เพราะสมัยนี้คนนิยมค้นหาบนมือถือเป็นหลัก แล้วด้วยเทคโนโลยีของทาง Google Map เองที่ช่วยส่งเสริมให้การเดินทางเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกค้าเมื่อค้นหาหมุดร้านได้เจอแล้ว เขาสามารถกด Get Direction เพื่อให้มือถือเครื่องนั้นนำทางเสมือนเป็นเครื่อง Navigator พาไปที่ร้านเลยได้ทันที แถมยังบอกเส้นทางต่างๆให้เลือกได้อีกว่าไปทางไหนได้บ้าง โดยใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยกี่นาที ระยะทางประมาณกี่กิโลเมตร ( ฟีเจอร์นี้ แอดมินเองก็ชอบมาก ไม่ต้องจ่ายตังค์ซื้อเครื่อง Navigator อย่างพวก Garmin หรืออื่นๆเลย เพราะคุณสมบัติเหมือนกันเป๊ะๆ แถมยังบอกความหนาแน่นของจราจรได้แบบ Realtime อีกด้วย)

 

การมีหมุดปักกูเกิลแมพ ช่วยนำทางลูกค้ามาที่ร้านได้สะดวกขึ้น

 

4. หมุดปักของสถานที่ทุกๆแห่ง ยังสามารถบอกช่วงเวลาของการเปิด-ปิดของร้าน พร้อมบอกด้วยว่า มีคนเสิร์ชหาร้านนั้นๆในช่วงเวลาได้มากน้อยเพียงใด ตรงนี้การใส่ข้อมูลเวลาเปิด-ปิด คนทำหมุดปักหรือเจ้าของร้านควรลงให้ถูกต้องกับความเป็นจริงให้มากที่สุด แล้วมันจะช่วยเหลือลูกค้าได้มากทีเดียว

ยกตย. ร้านอาหาร ผมเคยเสิร์จหาร้านอาหารร้านนึง ตอนเวลา 20.30 น. พอเสิร์จหาเจอแล้ว Google มันช่วยเตือนเราอีกด้วยว่า ร้านนี้จะปิดในอีก 30 นาทีแล้วนะ (คือร้านลงไว้ว่าเปิด 10.00 – 21.00 น.) ระบบกูเกิลมันฉลาดถึงกับสามารถคำนวณเวลาปิด กับช่วงเวลาที่ลูกค้ากำลังค้นหา แล้วแจ้งเตือนเราได้ว่า หากคุณไปร้านตอนนี้ อาจจะไม่ทันแล้ว

ข้อดีอีกอย่างนึง คือฟีเจอร์ล่าสุด กูเกิลจะมีกราฟแสดงจำนวนความหนาแน่นของคน โดยวัดจากปริมาณการเสิร์จหาร้านนั้นในทุกช่วงเวลาในแต่ละวัน  หมายถึงถ้าคุณจะไปกินอาหารร้านนี้ คนจะเยอะมากตั้งแต่ช่วง 7PM – 9PM คือ1ทุ่ม-3ทุ่มนะ มันแสดง Peaktime ได้ว่าแต่ละร้านมีผู้คนกำลังค้นหาข้อมูลเวลาไหนมากน้อยเพียงใด แล้วแสดงเป็นกราฟ คาดการณ์ว่า ถ้าคุณไปร้านช่วงเวลา 2 ทุ่ม คนอาจจะเยอะ ต้องรออาหารนานหน่อย ถือเป็นการใช้ Data ปริมาณมากมาวิเคราะห์ให้ตรงกับความเป็นจริงให้เราได้ดูได้ง่ายขึ้น

 

หมุดปักกูเกิลแมพ สามารถบอกช่วงเวลาที่คนค้นหาได้

 

5. หมุดปักของธุรกิจสามารถโชร์ได้ทั้ง รูปภาพทั้งบรรยากาศร้าน / หน้าร้าน /รูปสินค้า ที่เจ้าของสามารถอัพเดทเองได้ (ความเป็นเจ้าของเราก็สามารถเลือกรูปสวยๆมาโชร์มาพรีเซ็นต์ได้เต็มที่) และยังมีภาพแบบ Streetview บริเวณถนนหน้าร้าน เพิ่มความสะดวกในการหาจุดสังเกตุเมือเดินทางมาร้านของลูกค้าได้อีกด้วย

เจ้าของสามารถเพิ่มรูปสวยๆ เป็นรูปสินค้า/บริการของร้าน ลงได้เอง ตรงนี้เป็นอีก1คุณสมบัติที่ผู้คนชอบกันมาก ยกตัวอย่างร้านอาหารอีกเช่นเคย สมมติแก็งเพื่อนกำลังคุยกันว่าจะไปกินร้านไหนกันดี มีช้อยท์ให้เลือกอยู่ 3 ช้อยท์ แล้วคุณก็ค้นหาดูข้อมูลทั้ง 3 ร้าน คุณว่าถ้า 1 ใน3ร้านนั้น เจ้าของใส่ใจในการอัพรูปอาหารน่ากิน จัดวางไว้อย่างน่ารับประทานสุดๆ ถ่ายรูปสวยๆของบรรยากาศร้าน การตกแต่งร้าน รูปอาหารมีมากมาย ใส่ไว้ในกูเกิลแมพของร้าน โอกาสที่ผู้คนจะเลือกตัดสินใจ มากินร้านนี้ก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

หมุดปักกูเกิล สามารถเลือกรูปของสถานที่มาใส่ได้ โชร์หน้าร้านและสินค้าของร้าน

 

6. หมุดปักของธุรกิจ นอกจากจะมีประโยชน์ต่อลูกค้าแล้ว เจ้าของสถานที่ยังสามารถดู Stat สถิติต่างๆที่เกิดขึ้นว่ามีผู้คนค้นหาร้าน วันละกี่คน และยังมีรายละเอียดยิบย่อยเชิงลึก อีกหลายอย่างที่ระบบหลังบ้านของ Google เปิดให้ฝั่งเจ้าของเข้ามาดูสถิติได้

ตัวอย่างเช่น เจ้าของสามารถดูว่าหมุดปักของร้านมีคน พิมพ์ค้นหาแต่ละวันมากน้อยเพียงใด แสดงเป็นกราฟ เลือกดูเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ราย3เดือน ได้เลย พร้อมตัวเลขแสดงจำนวนลูกค้า เมื่อค้นหามาเจอหมุดของร้าน แล้วเขา Take action อะไรบ้าง เช่น เขากดขอเส้นทามาร้านกี่คน / โทรมาที่ร้านกี่คน / กดเข้าดูข้อมูลเว็บไซต์กี่คน ข้อมูลตรงนี้มีประโยชน์มากๆต่อเจ้าของธุรกิจในการวิเคราะห์การขายของร้านได้

ขออนุญาตยกเคส ที่ผมเคยเป็นคอนซัลร้านอาหาร แล้วเอา Statistic เหล่านี้ไปแก้ไขวันเปิดปิดของ ร้านอาหารย่านสุขุมวิทร้านนึงให้ฟังนะคับ เนื่องด้วยร้านเปิดใหม่ เจ้าของตั้งวันหยุดไว้1วัน เพื่อปิดร้านให้ลูกน้องพักผ่อนประจำสัปดาห์ แต่ด้วยการไม่มีข้อมูลอะไรมาช่วยวิเคราะห์ ร้านจึงตั้งค่าไว้ว่า ร้านจะปิดบริการทุกวันพฤหัส …พอผ่านไปได้สัก1เดือนเศษๆ ผมเห็น Stat ของปริมาณคนค้นหาข้อมูลของร้าน แสดงเป็นกราฟรายสัปดาห์ + ข้อมูลกราฟปริมาณการโทรศัพท์เข้ามาที่ร้านจากกูเกิลเป็นรายสัปดาห์ ข้อมูลทั้ง2ตรงกันว่า ปริมาณที่ลูกค้าค้นหาพิมพ์ชื่อร้าน XXX ที่ผมดูแลอยู่นี้ มีปริมาณมากในวัน พฤหัส-ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ , แต่วันที่คนค้นหาน้อยที่สุด ดันเป็นวันจันทร์  ผมเลยเอาข้อมูลเหล่านี้ไปแสดงให้เจ้าของร้านดู ว่าจริงๆแล้ววันพฤหัส มีคนเสิร์จหาและโทรมาที่ร้านเยอะมากนะ ไม่ควรจะปิดร้านทุกวันพฤหัส แต่ควรเปลี่ยนวันหยุดร้านไปเป็นวันจันทร์แทน ซึ้งหลังได้เปลี่ยนแปลงวันหยุดไปเป็นวันทุกวันจันทร์ ก็พบได้ว่า วันพฤหัสมีลูกค้ามาทานอาหารที่ร้านเยอะจริงๆ แต่อาจจะน้อยกว่าวัน Fri-Sat-Sun แต่ยอดขายรายวันของวันพฤหัสก็ดีกว่า วันจันทร์อยู่มาก เจ้าของก็มาขอบคุณผมใหญ่ ที่ช่วยแนะนำตรงนี้ให้   <<< นี้เป็นอีก 1 เคส ที่เห็นผลได้ชัดว่า ถ้าเรามีข้อมูลที่เชื่อถือได้ จากการเก็บสถิติจากกูเกิลแมพ ก็สามารถช่วยให้ธุรกิจเราขายได้มากขึ้นด้วย

 

เจ้าของสถานที่หมุดปัก สามารถดูสถิติปริมาณการค้นหาต่อวันได้

 

7. ระบบหลังบ้านของ Google Map เจ้าของสามารถเข้าไปดูสถิติตัวเลขปริมาณการค้นหา พร้อม Heat Map ว่าลูกค้า ที่เดินทางมาร้านเรา เขาค้นหามาจากแห่งหนตำบลใดในแผนที่ (ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลจริงที่กูเกิลรู้มาจากเครื่องมือถือที่เปิด GPS ) ทำให้ระบบรับรู้ได้ว่าลูกค้าเดินทางมาจากตรงไหนบ้าง
สำหรับร้าน ก็สามารถดูสถิติเพื่อเป็น Data เอาไปวิเคราห์ทำการตลาดหรือทำโปรโมชั่นต่อไปได้ เช่นถ้าคุณจะเพิ่มบริการส่งอาหาร Delivery คุณจะสามารถวิเคราะห์คร่าวๆได้ว่า ลูกค้าของคุณอยู่ในรัศมีประมาณกี่กิโลเมตรจากร้านคุณ หรือดูได้ว่าลูกค้ามาจากตรงไหนบ้าง อาจจะสร้างโปรโมชั่นอะไรสักอย่างนึง ที่เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ได้

 

 

หมุดปักสามารถโชร์ Heat Map บอกได้ว่าลูกค้ามาจากที่ใดบ้าง

 

8. ดูข้อความรีวิวจากลูกค้า พร้อมสามารถพิมพ์ตอบกลับคำติชม จากรีวิวของลูกค้าได้ สร้างความพึ่งพอใจสูงสุด และทำให้ลูกค้าใหม่ในอนาคตรับรู้อีกด้วยว่า…ทางร้านใส่ใจทุกเสียง ทุกความเห็น จากคำคอมเม้นต์ของลูกค้าทุกคน

 

หมุดปักกูเกิล สามารถตอบกลับรีวิวของลูกค้าได้

 

9. เจ้าของหมุดสถานที่ สามารถเข้าไประบบหลังบ้าน เพื่อ Edit แก้ไขข้อมูลต่างๆได้ด้วยตัวเอง สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกอย่าง ทั้งเบอร์โทร / ช่วงเวลาเปิด-ปิดใหม่ / เว็บไซต์ และเพิ่มข้อมูล attribute ต่างๆ ซึ้งทางกูเกิลจะมีให้เลือกแตกต่างกันไปในแต่ละหมวดของธุรกิจ

จากการสังเกตุ ถ้าเจ้าของหมุดสถานที่ มาอัพเดทข้อมูลต่างๆของร้าน + อัพภาพอาหาร ภาพสินค้า ภาพใหม่ๆเข้าไปในหมุดปักอยู่เรื่อยๆ มันส่งผลทำให้ผลการค้นหาบนหน้าแรกกูเกิล ดีขึ้นอีกด้วย เพราะกูเกิลจะมองว่าเป็นการทำ SEO ประเภทหนึ่ง ถ้าเจ้าของใส่ใจดูแลหมุดปักของตัวเอง มาอัพเดทภาพใหม่ๆ สม่ำเสมอ กูเกิลก็มีแนวโน้มที่จะดันอันดับผลการค้นหา ที่อยู่สูงกว่าคู่แข่ง ให้คุณด้วย

 

เจ้าของหมุดสามารถ edit แก้ไขข้อมูลต่างๆของ Mapตัวเองได้ตลอด

 

คลิกที่นี้ถ้า อยากทำหมุดปักธุรกิจลงใน Google Map

หรือเพิ่มเติมที่ Facebook Page นี้